เมนู

[675] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา 3 อย่างเหล่านี้. 3 อย่าง
เป็นไฉน. คือ การเเสวงหากาม 1 กามแสวงหาภพ 1 การแสวงพรหมจรรย์ 1
(พึงขยายเนื้อความที่กล่าวนี้เป็นตัวอย่าง.)
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
1. เอสนาสูตร 2. วิธาสูตร 3. อาสวสูตร 4. ภวสูตร 5.ปฐมทุกข-
สูตร 6 . ทุติยทุกขสูตร 7. ตติยทุกขสูตร 8. ขีลสูตร 9. มลสูตร
10. นีฆสูตร 11. เวทนาสูตร 12. ตัณหาสูตร.
(เอสนาเปยยาลแห่งโพชฌงคสังยุต บัณฑิตพึงให้พิสดาร
โดยอาศัยวิเวก)

จบเอสนาวรรคที่ 12

โอฆะ 4


[676] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โอฆะ 4 ประการเหล่านั้น. 4 ประการ
เป็นไฉน. ได้แก่ โอฆะคือกาม โอฆะคือภพ โอฆะคือทิฐิ โอฆะคืออวิชชา
(พึงขยายเนื้อความดังที่กล่าวนี้เป็นตัวอย่าง).
[677] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วน
เบื้องสูง 5 ประการเหล่านี้. 5 ประการเป็นไฉน. คือ รูปราคะ อรูปราคะ
มานะ อุทธัจจะ อวิชชา สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง 5 ประการนี้แล. ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ 7 อันภิกษุควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง 5 ประการเหล่านี้แล.
โพชฌงค์ 7 เป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติ
สัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ

ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อม
ไปในการสละ. ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด. มีอันกำจัด
โทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด.
ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็น
ที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันหยั่งลงสู่อมตะมีอมตะเป็นเบื้องหน้า
มีอมตะเป็นที่สุด. ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่
นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันน้อมไปสู่
นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ 7
เหล่านี้แล อันภิกษุควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป
เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง 5 ประการเหล่านี้แล.

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. โอฆสูตร 2. โยคสูตร 3. อุปาทานสูตร 4. คันถสูตร
5. อนุสยสูตร 6. กามคุณสูตร 7. นีวรณสูตร 8. ขันธสูตร 9. อุทธัม-
ภาคิยสูตร
จบโอฆวรรคที่ 13
แม่น้ำทั้ง 6 สายไหลไปสู่ทิศปราจีน แม่น้ำทั้ง 6 สายไหลไปสู่สมุทร
ทั้ง 2 อย่างนั้น อย่างละ 6 รวมเป็น 12 เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่าวรรค
(คังคาเปยยาลแห่งโพชฌงคสังยุต พึงขยายความด้วยสามารถ
แห่งราคะ)

จบวรรคที่ 14
1. ตถาคตสูตร 2. ปทสูตร 3. กูฏสูตร 4. มูลสูตร 5. สารสูตร
6. วัสสิกสูตร 7. ราชสูตร 8. จันทิมสูตร 9. สุริยสูตร 10. วัตถสูตร